เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา2/2557 Topic:"จักรวาลความรัก"

เป้าหมาย(Understanding Goal) :นักเรียนมีความเข้าใจในระบบสุริยะจักรวาล เห็นความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกรวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของทุกสรรพสิ่งบนโลกและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เช่น การปฏิบัติตนเมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ การวางแผนการใช้ชีวิตตลอดจนการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม

week3


เป้าหมายรายสัปดาห์: นักเรียนเข้าใจและสามารถอภิปรายเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลในมิติต่างๆเช่น ระยะ  ขนาดดวงดาว  ลำดับ ผ่านการสร้างโมเดลได้
สัปดาห์
Input
Process (PBL)
Output
Outcome
3

โจทย์  ทำโมเดลระบบสุริยะจักรวาล
คำถาม
- ระบบสุริยะจักรวาลมีลักษณะอย่างไร  โลกของเราอยู่ส่วนไหนของระบบสุริยะจักรวาล
เครื่องมือคิด
- Brainstorms ระดมสมองร่วมกันเกี่ยวกับการวางแผนออกแบบสร้างโมเดลระบบสุริยะจักรวาล
- Show and Share นำเสนอชิ้นงาน
- Wall Thinking ติดชิ้นงาน
สื่อ/อุปกรณ์
- ภาพสุริยะจักรวาล
- บรรยากาศภายในห้องเรียน

วันจันทร์
ชง
-ครูให้นักเรียนดู 
คลปกำเนิดสุริยะจักรวาลพร้อมครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดระบบสุริยะจักรวาลมีลักษณะอย่างไร  โลกของเราอยู่ส่วนไหนของระบบสุริยะจักรวาล
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆละ 2-3 คนเพื่อค้นข้อมูลเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลผ่านทางอินเตอร์เน็ต

ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวางแผนออกแบบสร้างแบบจำลองระบบสุริยะจักรวาลและสร้างแบบโมเดลระบบสุริยะจักรวาล

วันอังคาร- วันพฤหัสบดี

ใช้(ต่อ)
- สร้างโมเดลระบบสุริยะจักรวาล

วันศุกร์
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอแบบโมเดลระบบสุริยะจักรวาลให้เพื่อนๆและครูฟัง
-นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
- ทำโมเดลระบบสุริยะจักรวาล
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
นักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนออกแบบสร้างแบบจำลองระบบสุริยะจักรวาล

ความรู้
นักเรียนเข้าใจการกำเนิดของระบบสุริยะจักรวาลและลักษณะของดาวเคราะห์แต่ละดวงผ่านการทำโมเดล
ทักษะ
1. ทักษะชีวิต
- สามารถวางแผนการทำงานและรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
2. ทักษะการแก้ปัญหา
วิธีการทำงานเป็นทีม ให้งานประสบความสำเร็จบนพื้นฐานความแตกต่างระหว่างบุคคล
3. ทักษะการจัดลำดับข้อมูลอย่างเป็นระบบ
4. ทักษะการคิดและการเรียนรู้ โดยมีความสนในและสามารถวางแผนการเรียนรู้ได้
5. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการยอมรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและแตกต่าง ของเพื่อนๆ
6. ทักษะการสื่อสาร
-การแสดงความคิดเห็นและการนำเสนอผลงานจากเรื่องราวที่ศึกษาค้นคว้าและชิ้นงานที่ลงมือปฏิบัติ
คุณลักษณะ
1. เคารพ เห็นคุณค่า ของตนเองและผู้อื่น เห็นความเชื่อมโยงของตนเองและสิ่งต่างๆ
2. มีการทำงานเป็นขั้นตอนและรับผิดชอบ ใส่ใจในหน้าที่
3. เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
4. สร้างสรรค์ชิ้นงานได้เต็มศักยภาพของตนเอง
5. การคิดสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้าลักษณะทาง


ตัวอย่างชิ้นงานสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์







ตัวอย่างชิ้นงาน





ประมวลภาพกิจกรรม


1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้พี่ป.3 ได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล ครูหนันเปิดคลิปวีดีโอเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาลให้พี่ๆป.3 ดูหลังจากที่ดูเสร็จครูหนันตั้งคำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนคิดว่าระบบสุริยะจักรวาลคืออะไรมีลักษณะอย่างไร พี่สุเอก:ระบบสุริยะจักรวาลคือระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง พี่บาส: คำว่าสุริยะแปลว่าดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะคือระบบของดวงอาทิตย์ที่มีดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงโคจร้อมรอบครับ หลังจากนั้นครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อนักเรียนคิดว่านักเรียนอยู่ส่วนไหนของระบบสุริยะจักรวาล พี่ป.3: อยู่บนโลกอยู่ลำดับที่ 3 ของวงโคจรค่ะ/ครับ หลังจากนั้นครูและนักเรียนนั่งล้อมวงเป็นวงกมอภิปรายเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล ในชั่วโมงต่อมานักเรียนแต่ละกลุ่มนำกระดาษหนังสือพิมพ์และอุปกรณ์มาสร้างโมเดลระบบสุริยะจักรวาลในขณะที่ทำพี่ป.3 เกิดปัญหาเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ทำไม่ระเอียด ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิดต่อพี่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร กลุ่มพี่น้ำมนต์:ถ้าอยากให้กระดาษระเอียดเราควรฉีกเป็นชิ้นเล็กๆและแช่น้ำไว้นานๆ หลังจากนั้นพี่แต่ละกลุ่มทำโมเดลของกลุ่มตนเองในสัปดาห์นี้เกิดปัญหาเนื่องจากเนื้อหาที่พี่ป3 ได้เรียนรู้ยังไม่ครอลคลุมทำให้เวลาในการสร้างโมเดลไม่เพียงพอ หลังจากนั้นครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยกันนักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ